Search

ย้อนรอย 12 สนามฟุตบอลไทยในความทรงจำ - ไทยรัฐ

blogpolitikgue.blogspot.com

นี่คือสเตเดียมฟุตบอลที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยด้วยความจุที่เฉียด 50,000 ที่นั่ง สร้างแห่งนี้สร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2541 จากการออกแบบของ รังสรรค์ ต่อสุวรรณ และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 5 ธันวาคม 2530 และพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก พ.ศ. 2531 สนามแห่งนี้ใหญ่เป็นอันดับที่ 55 ของโลก และเป็นอันดับที่ 17 ของเอเชีย รองรับทุกทัวร์นาเมนต์การแข่งขันทั้งในระดับประเทศและระดับโลก ซึ่งถือเป็นสนามหลักที่ "ช้างศึก" ทีมชาติไทย ใช้เป็นสังเวียนฟาดแข้งมาตลอด อาทิ ฟุตบอลโลก รอบคัดเลือก, เอเอฟเอฟ อาเซียน คัพ หรือฟุตบอลนัดพิเศษที่ทีมระดับโลกอย่าง "ปิศาจแดง" แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด, "หงส์แดง" ลิเวอร์พูล, "สิงโตน้ำเงินคราม" เชลซี ตลอดจน "เจ้าบุญทุ่ม" บาร์เซโลนา ก็เคยมาฟาดแข้งที่นี่มาแล้ว

สนามศุภชลาศัย

ถ้าหากราชมังคลากีฬาสถาน คือเบอร์หนึ่งของสังเวียนการจัดแข่งฟุตบอลระดับประเทศ สนามศุภชลาศัยหรือชื่อเดิมอย่าง "สนามกรีฑาสถาน" ก่อนถูกเปลี่ยนชื่อเมื่อปี พ.ศ.2484 ที่มีความจุเฉียด 20,000 ที่นั่ง ก็คงเป็นตัวเลือกที่สำคัญไม่แพ้กัน เคยถูกใช้เป็นสังเวียนการฟาดแข้งในระดับโลกมาแล้วเหมือนกัน ซึ่งแมตช์กระชับมิตรของสโมสรระดับโลกมาแล้วหลายครั้ง อาทิ "ปิศาจแดง" แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ซึ่งยุคหลังที่ผ่านมาก็ถูกใช้เป็นสังเวียนฟาดแข้งของ "ช้างศึก" ทีมชาติไทย รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี หรือยังใช้ในศึกระดับไทยลีกมาแล้วด้วยเช่นกัน

สนามกีฬาธูปะเตมีย์

หรืออีกชื่อหนึ่งคือ “สนามกีฬากองทัพอากาศ” สังเวียนอันเลื่องชื่อแห่งทุ่งดอนเมือง ซึ่งมีการยืนยันความจุอย่างเป็นทางการอยู่ที่ 25,000 คน เคยเป็นสังเวียนในการสร้างชื่อให้กับตำนานของทีม “ทัพฟ้า” และทีมชาติไทยมาแล้วหลายคน ไม่ว่าจะเป็น “เดอะ ตุ๊ก” ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน, ไพโรจน์ พ่วงจันทร์, “น้าโหด” สมศักดิ์ คำมณี, ชะลอ หงส์ขจร, วิชิต เสชนะ รวมไปจนถึง ประทีป ปานขาว แต่น่าเสียดายที่รังเหย้าของทีม ทหารอากาศ หรือ แอร์ฟอร์ซ ยูไนเต็ด ต้องกลายเป็นตำนานไปเรียบร้อยแล้ว เมื่อทีมดังแห่งนี้ได้ประกาศยุบทีม ก่อนย้ายฐานไปอยู่ที่ จ.อุทัยธานี ในปัจจุบัน

สนามกีฬาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สนามกีฬาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดิมชื่อ สนามกีฬาจารุเสถียร หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ "สนามจุ๊บ" ถือเป็นสนามฟุตบอลหญ้าเทียมแห่งแรกของประเทศไทย เริ่มสร้างในระยะแรกในปี 2510 ก่อนที่จะมีการปรับปรุงและยกระดับจนสามารถจัดการแข่งขันในระดับนานาชาติ ในอดีต สนามแห่งนี้เป็นรังเหย้าของทีมจุฬา ยูไนเต็ด และจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยมาหลายรายการ อีกทั้งถือเป็นเวทีสำคัญของการเตรียมทีมชาติไทย สำหรับทัวร์นาเมนต์ที่แข่งขันบนพื้นหญ้าเทียมด้วย

สนามมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต

ย้อยไปในอดีต สนามแห่งนี้เป็นสังเวียนหลักจัดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ 1998 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ จากนั้น ก็ถูกใช้งานในการแข่งขันฟุตบอลและกรีฑาระดับนานาชาติ เคยเป็นสนามเหย้าของทีมฟุตบอลอินทรีเพื่อนตำรวจ และแบงค็อก ยูไนเต็ด และล่าสุด สนามแห่งนี้ คือ สนามเหย้าของทีมชาติไทย ลุยศึกฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย และเป็นสนามจัดการแข่งขันฟุตบอลยู-23 ชิงแชมป์เอเชีย 2020 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ

สนาม แพท สเตเดียม

นี่คือ "สเตเดียมฟุตบอล" ที่ถือว่าเก่าแก่และมีมนตร์ขลังสนามหนึ่งของประเทศเลยทีเดียว สนามแห่งนี้เริ่มก่อสร้างพร้อมกับก่อตั้งสโมสรเมื่อปี 2510 โดยไม่มีลู่วิ่ง หลังจากนั้นสนามก็มีการขยายต่อเติมให้ทันสมัยมากขึ้น ด้วยขนาดของสนามแห่งนี้ไม่เล็กไม่ใหญ่จุแฟนได้ราว 7,000 คน ทำให้มีบรรยากาศเสียงเชียร์ที่กึกก้องและกดดันมากสำหรับทีมที่เยือนจนได้รับการขนานนามว่า "นรกของทีมเยือน" นอกจากนี้ช่วงต้นปีทีมของ "มาดามแป้ง" นวลพรรณ ล่ำซำ บิ๊กบอสสาวคนเก่งและแกร่ง ยังปรับปรุงรังเหย้าอีกครั้งเพื่อรองรับโปรแกรม เอเอฟซี แชมเปียนส์ลีก

สนามติณสูลานนท์

สนามที่เป็นเสมือนศูนย์รวมของฟุตบอลทางภาคใต้ และมีประวัติศาสตร์ที่น่าจดจำ สังเวียนเเห่งนี้ถูกปรับปรุงเมื่อปี 2538 ก่อนใช้จัดกีฬาต่างๆ ที่สำคัญที่สุดคือ สนามแห่งนี้ เคยสร้างสถิติจำนวนผู้ชมในสนามมากที่สุดในประวัติศาสตร์ฟุตบอลไทย ในศึกดิวิชั่น 1 ปี 2554 เกมที่สงขลา เอฟซี เปิดบ้านเสมอกับ บุรีรัมย์ เอฟซี 0-0 ที่จำนวน 36,715 คน อีกทั้งล่าสุด เป็นสังเวียนจัดการแข่งขันฟุตบอล ยู-23 ชิงแชมป์เอเชีย 2020 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ

สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา

สนามกีฬาหลักของเมืองย่าโมในปัจจุบัน ถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 24 เมื่อปี 2550 มีความจุราว 25,000 ที่นั่ง สูงสุดเป็นอันดับที่ 4 ของประเทศไทย รวมถึงยังสามารถรองรับการขยายความจุเพิ่มไปเป็น 45,000 คนในอนาคตได้อีกด้วย

ซึ่งหลังการแข่งขันซีเกมส์จบลง สนามแห่งนี้ก็ได้ถูกใช้เป็นรังเหย้าของทีม “สวาทแคท” นครราชสีมา มาสด้า เอฟซี มาตั้งแต่ยังอยู่ในลีกภูมิาค จนก้าวขึ้นมายืนหยัดบนไทยลีก 1 ในปัจจุบัน โดยในซีซั่น 2019 ที่ผ่านมา สนามแห่งมีมียอดผู้ชมเฉลี่ย 12,388 คน สูงสุดเป็นอันดับที่ 2 รองจากช้าง อารีนา เท่านั้น

สนามช้าง อารีนา

รังเหย้าของทีม “ปราสาทสายฟ้า” อาจจะเรียกได้ว่าเป็นฟุตบอลสเตเดียมแห่งแรกของไทย ที่อยู่นอกเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งมีความจุเริ่มต้นที่ 24,000 ที่นั่ง ก่อนถูกขยายเพิ่มเป็น 32,600 ที่นั่งในเวลาต่อมา นอกจากนี้ สนามช้าง อารีนา หรือที่ก่อนหน้านี้รู้จักในชื่อของ “ไอโมบาย สเตเดียม” ยังถูกบันทึกในกินเนสส์บุ๊กว่า เป็นสนามซึ่งได้รับการรับรองจากฟีฟ่า ที่ใช้เวลาในการสร้างน้อยที่สุด คือ 256 วันเท่านั้น ส่วนในระดับชาติ “ช้าง อารีนา” ยังเคยทำหน้าที่เป็นรังเหย้าของทีมชาติไทย ในเกมอุ่นเครื่อง, ฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก รวมถึงศึกชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 47 ที่ผ่านมาอีกด้วย

สนาม ลีโอ สเตเดียม

ถ้าใครเป็นแฟนไทยลีกมานาน คงจำได้ดีว่าสนามดังแห่งย่านคลองสาม ผ่านการเปลี่ยนแปลงอะไรมาบ้าง ซึ่งรังเหย้าของทีม “เดอะ แรบบิท” เริ่มจากการมีอัฒจันทร์เพียงไม่กี่ด้าน ก่อนถูกต่อเติมให้ยิ่งใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ เคยขยายที่นั่งรองรับแฟนบอลขึ้นไปจนถึง 13,000 ที่นั่ง ก่อนถูกลดให้เหลือเพียง 9,000 ที่นั่งในปัจจุบัน ส่วนความคลาสสิกซึ่งเป็นที่จดจำ คือการมีอัฒจันทร์เพียงแค่ 3 ด้านเท่านั้น แต่ความขลังและเสียงปลุกเร้าแฟนบอลบีจี กลับไม่ลดน้อยลงแต่อย่างใด แถมยังเหนียวแน่นและอยู่เคยข้างทีมรัก แม้แต่ตอนลงไปคลุกฝุ่นอยู่ในลีกรองเมื่อซีซั่นที่ผ่านมาก็ตาม

สนาม เอสซีจี สเตเดียม

สนามแห่งนี้มีชื่อเดิมว่า ธันเดอร์โดม สปอร์ตคอมเพล็กซ์ และ ยามาฮ่า เสเตเดียม ตั้งอยู่ภายในพื้นที่เมืองทองธานี อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นรังเหย้าของ "กิเลนผยอง" เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด ทีมยักษ์ใหญ่แห่งศึก โตโยต้า ไทยลีก โดยมีความจุที่ราว 13,000 ที่นั่ง ขณะที่คุณภาพของสนามก็ผ่านมาตรฐานของสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย และถือเป็นสเตเดียมฟุตบอลขนานแท้ เพราะไม่มีลู่วิ่งมากั้นกลางระหว่างนักเตะและแฟนบอล ซึ่งรองรับเกมอุ่นเครื่องทั้งในระดับสโมสรที่เคยเปิดรังดวลกับ พีเอสวี ไอนด์โฮเฟน สโมสรชื่อดังระดับโลกแห่งลีกเนเธอร์แลนด์มาแล้ว รวมถึง "ช้างศึก" ทีมชาติไทย ทั้งชุดใหญ่และชุดอื่นๆ ก็เคยใช้เป็นสังเวียนฟาดแข้ง

ทีโอที สเตเดียม

ปิดท้ายกันด้วยอีกหนึ่งสนามแห่งความทรงจำที่ตอนนี้เป็นเพียงแค่ความหลังไปแล้วสำหรับ ทีโอที สเตเดียม ก่อสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2553 แถวย่านหลักสี่ ที่มีความจุ ราว 5,500 ที่นั่ง ซึ่งเป็นรังเหย้าของ "แข้งฮัลโหล" ทีโอที เอสซี แต่น่าเสียดายที่ยุบทีมไปแล้วเมื่อปี พ.ศ. 2559 ที่ผ่านมา หลังจากนั้น เกษตรศาสตร์ เอฟซี ก็ได้ใช้สนามแห่งนี้เป็นรังเหย้าอีกด้วย




July 17, 2020 at 08:00AM
https://ift.tt/2CMuHFR

ย้อนรอย 12 สนามฟุตบอลไทยในความทรงจำ - ไทยรัฐ

https://ift.tt/2BQJXBh


Bagikan Berita Ini

0 Response to "ย้อนรอย 12 สนามฟุตบอลไทยในความทรงจำ - ไทยรัฐ"

Post a Comment

Powered by Blogger.